ดูบทความลิตรเป็นแสน!! น้ำมันซ่อมนาฬิกา ใช้แล้วลอยไม่ได้ แต่ไม่ใช่นาฬิกาอาจจะพัง EP1

ลิตรเป็นแสน!! น้ำมันซ่อมนาฬิกา ใช้แล้วลอยไม่ได้ แต่ไม่ใช่นาฬิกาอาจจะพัง EP1

ลิตรเป็นแสน!! น้ำมันซ่อมนาฬิกา ใช้แล้วลอยไม่ได้ แต่ไม่ใช่นาฬิกาอาจจะพัง EP1

          ทุก ๆ ท่านที่คุ้นเคยกับนาฬิกาทั้งข้อมือหรือแขวนผนังโดยเฉพาะที่เป็นระบบจะทราบดีว่าชิ้นส่วนนาฬิกาต้องได้รับการหล่อลื่นด้วยน้ำมันเพื่อให้มีความลื่นและความหนืดที่เหมาะสม แต่อาจยังไม่ทราบว่ามีรายละเอียดในการทำอย่างไร น้ำมันนาฬิกาเป็นวัสดุสิ้นเปลืองในงานซ่อมนาฬิกา นับเป็นสัดส่วนไม่น้อยเลยทีเดียวในการลงทุนของช่างนาฬิกา ถึงแม้ขนาดบรรจุเริ่มต้นจะอยู่ที่หลอดละ 1ml. ซึ่งก็สามารถใช้ซ่อมนาฬิกาได้หลายสิบเรือน

          ทีมงานนาฬิกาเหรียญทองเยาวราช ขอแนะนำบทความเกี่ยวกับน้ำมันและสารหล่อลื่นนาฬิกา ในตอนแรกจะเล่าให้ฟังถึงประเภทของน้ำมันที่ใช้กันตั้งแต่อดีต ว่ามีหน้าที่อย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และวิธีการใส่น้ำมันเบื้องต้น เพื่อให้ท่านเห็นภาพความสำคัญของสารหล่อลื่นที่จะเคลือบชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่องกันยาวนานหลายปีโดยไม่มีหยุดพัก

ภาพแผนผังการใส่น้ำมันหล่อลื่นในชิ้นส่วนต่าง ๆ

ภาพปรับปรุงจาก eta.ch

          เครื่องนาฬิกานับว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์จักรกลที่อยู่คู่อารยธรรมมนุษย์และเป็นสัญลักษณ์ของความละเอียดและแม่นยำ (Delicate & Precise) สูงนับตั้งแต่ถูกคิดค้นและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน แต่ละชิ้นส่วนได้รับการพัฒนาจนมีความเสถียรสูงสุด ผ่านการปรับแต่งในทุกรายละเอียดที่เป็นไปได้ นั่นรวมไปถึงระดับความลื่นไหลที่เหมาะสมกับแกนจักรหรือฟันเฟืองของจักรแต่ละชิ้น น้ำมันหล่อลื่นทำหน้าที่เป็นทั้งตัวลดแรงเสียดทานในชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็ว และเพิ่มแรงเสียดทานในชิ้นส่วนที่ต้องรองรับแรงบิดสูง แต่เดิมใช้การสกัดน้ำมันจะวัสดุธรรมชาติเช่นน้ำมันจากพืชหรือไขมันสัตว์ จนถึงปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์น้ำมันขึ้นมาใช้งานโดยเฉพาะเพื่อความหลากหลาย มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและมีความคงทนต่อสภาพอากาศมากขึ้น ค่าความหนืดของน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิ บางชนิดหากอุณหภูมิต่ำลงเพียงเล็กน้อยอาจกลายสภาพเป็นขี้ผึงหรือของแข็งได้ ในอุตสาหกรรมนาฬิกาใช้หน่วยวัดความหนืดแบบ Kinematic Viscosity (cSt @C°) ซึ่งจะวัดระยะเวลาการไหลของน้ำมันในหน่วยเวลาต่อระยะทางมาตรฐานพร้อมระบุอุณหภูมิที่ทำการตรวจสอบด้วยเพื่อให้ช่างสามารถเลือกชนิดใช้คุณสมบัติเฉพาะของน้ำมันทดแทนในการซ่อม โดยเฉพาะกรณีที่เครื่องนาฬิกานั้นเก่ามากจนไม่มีข้อมูลการซ่อมเหลืออยู่

ภาพถาดเก็บน้ำมันสำหรับการซ่อมนาฬิกา Bergeon 30180-A

          นอกจากคุณสมบัติในตัวน้ำมันเองแล้ว สิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของสารหล่อลื่นนั่นก็คือการควบคุมปริมาณ การใส่น้ำมันที่มากหรือน้อยเกินไปอาจให้ผลลัพท์ตรงกันข้ามกับที่ช่างคาดหวังไว้ ในการหยดน้ำมันจะใช้อุปกรณ์เฉพาะคือเข็มหยดน้ำมัน ซึ่งมีปลายเป็นรูปทรงคล้ายลูกศรป้อม ๆ ในขนาดที่แตกต่างกัน ปริมาณน้ำมันที่ใช้ปกป้องชิ้นส่วนจะถูกกำหนดตั้งแต่การเลือกขนาดปลายเข็มให้เหมาะสม ขนาดเข็มหยดน้ำมันจะกำหนดพื้นที่ที่น้ำมันจะติดขึ้นมาได้ ถ้ายิ่งกว้างปริมาณจะยิ่งมากตาม นอกจากพื้นที่แล้วยังมีเรื่ององศาระหว่างปลายเข็มหยดกับผิวหน้าของน้ำมันว่าจะตั้งชั้นหรือเป็นระนาบขนานกัน ยังมีปัจจัยด้านความเร็วในการดึงเข็มออกจากหน้าสัมผัสน้ำมัน ซึ่งการดึงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้หยดน้ำมันบนเข็มแยกตัวออกจากน้ำมันในหลุมได้กว้างกว่า ทำให้ได้ปริมาณน้ำมันต่อครั้งมาก และหากดึงเข็มหยดน้ำมันช้า ๆ ก็จะให้ผลลัพท์ในทางตรงกันข้าม

ภาพแสดงปลายเข็มหยดน้ำมันแบบออโตมติก ที่กำหนดตำแหน่งและขอบเขตการหยดน้ำมันได้

ภาพปรับปรุงจาก bergeon.ch

          ในการหยดน้ำมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและกินระยะเวลาการทำงานสูง หากเกิดข้อผิดพลาดก็จะต้องนำชิ้นส่วนนั้นไปเข้ากระบวนการล้างทำความสะอาดใหม่ ผู้ผลิตอุปกรณซ่อมนาฬิกาชั้นนำหลายรายจึงมีการออกแบบเครื่องมือช่วยให้อำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้นอย่างเข็มหยดน้ำมันแบบออโตเมติก ที่สามารถบรรจุน้ำมันไว้ภายในเพื่อให้ขั้นตอนการกำหนดปริมาณน้ำมันง่าย สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น เพียงแค่กดปุ่มให้น้ำมันไหลลงมาตามที่ต้องการ และยังสามารถเข้าถึงชิ้นส่วนที่แคบได้ เช่นในรูทับทิมอินคาบล๊อค ที่เราสามารถใส่เข็มเข้าไปในรูก่อนแล้วค่อยปล่อยน้ำมันจากปุ่มกด เพิ่มความสะดวกในการทำงานโดยไม่ต้องถอดแยกชิ้นทับทิมเพื่อแต้มแล้วประกบกลับ หากเป็นเข็มหยดน้ำมันแบบเดิมจะทำไม่ได้เนื่องจากน้ำมันจะติดกับทิบทิมรูและเพิ่มความหนืดให้กับบ่าของแกนสายใย ทำให้ภาพรวมการทำงานนาฬิกามีการหมุนที่ช้าหรือเร็วกว่าสเปคและไม่เที่ยงตรงตามมาตรฐานจนไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้นช่างนาฬิกาที่ทำงานซ่อมตามคู่มือมาตรฐานจะให้ความใส่ใจกับน้ำมันมากเป็นพิเศษ

04 สิงหาคม 2561

ผู้ชม 4912 ครั้ง