ดูบทความ
ดูบทความหน้าปัดนาฬิกาวินเทจ Seiko Chronograph
หน้าปัดนาฬิกาวินเทจ Seiko Chronograph
The most reasonable complicated watch function in praticeis Chronograph
[ภาพอะไหล่หน้าปัดนาฬิกา Seiko 6139-7070T บนกล่องอะไหล่ยุควินเทจ]
Photo: rianthongbangkok.com
1957 อาจเป็นตัวเลขที่คุ้นเคยสำหรับเจ้าของนาฬิกาที่ได้ฉายาว่า “The first watch worn on the moon.” อย่าง Omega Speedmaster นาฬิกาซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน NASA สำหรับปฏิบัติการเดินทางและสำรวจอวกาศที่เฟื้องฟูในช่วงเวลาสงครามเย็น แต่จะมีสักกี่คนทีได้รู้ว่านาฬิกาเรือนแรกที่ใช้ระบบออโตเมติก และได้ออกสู่อวกาศจริง ๆ นั่นกลับเป็นนาฬิกาจากผู้ผลิตในอีกฝากฝั่งแปซิฟิคอย่าง Seiko ผู้ผลิตนาฬิกาสัญชาติญี่ปุ่นที่ได้พัฒนานาฬิกากลไก รหัส 6139 Chronograph ที่มาพร้อมระบบขึ้นลานแบบอัตโนมัติที่พัฒนาต่อยอดจากกลไก 6100 ในปี ค.ศ. 1969
[ภาพนาฬิกา Omega บทชุดเครื่องแบบสำหรับปฏิบัติหน้าที่ในอวกาศ]
Photo: @corn18 - omegaforums.net
[ภาพเครื่องนาฬิกา Seiko 6105A ต้นแบบโมดูลออโตเมติกของ เครื่อง 6139 ในตัวเรือนนาฬิกาดำน้ำ]
Photo: thewatchspotblog.com
ในช่วงปี 1960 เป็นต้นมา นาฬิกาออเมติกเป็นทีต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ผู้ผลิตต่างตอบสนองความต้องการดังกล่าว จนกระทั่งถึงปี 1969 ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้นำเสนอนาฬิกาจับเวลาระบบออโตเมติก เช่น Zenith El Primero, Lemania 5100 และ Seiko 6139
[เครื่องนาฬิกา Zenith El Primero 3019 PHC ที่ถอดโมดูลออโตเมติกออกแล้ว เผยให้เห็นกลไกและการขัดแต่งภายใน]
Photo: zenith-watches.com
[ภาพเครื่องนาฬิกา lemania 5100 ในนาฬิกาสปอร์ตยอดนิยมอย่าง Heuer Carrera จากยุค 1980s ตอนต้น]
Photo: luxurywatchbuyer.com
ในปี 1973 พันเอก วิลเลียม โพก ได้ซื้อนาฬิกา Seiko Chronograph 6139 ที่มาพร้อมหน้าปัดสีเหลืองสดใส ขอบตัวเรือนด้านนอกมาพร้อมวงแหวนสเกลเปรียบเทียบและคำนวนเวลาแบบ Tachymeter เพื่อใช้รพหว่างการฝึกซ้อมที่สถานีภาคพื้นและนำติดตัวไปในฐานะของใช้ส่วนตัวระหว่างการปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศ Skylab 4 เป็นระยะเวลายาวนาน 84 วัน ถึงแม้นาฬิการุ่นนี้จะไม่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการสำหรับปฏิบัติการ พันเอกโพก ได้กล่าวว่านาฬิกา Seiko ที่เขานำขึ้นไปนั้น ใช้งานได้เป็นปกติในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง
[ภาพพันเอก วิลเลียม โพก (Coronel William Pogue) ในสถานีฝึกซ้อม (บน) และภาพขณะสวมเครื่องแบบปฏิบัติการ (ล่าง)]
Photo: thespringbar.com
นาฬิกา Seiko Chronograph รุ่น 6139 เป็นนาฬิกาจักรกลระบบขึ้นลานอัตโนมัติพร้อมระบบจับเวลา 30 นาที แสดงผลวันที่และวันประจำสัปดาห์ที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกาพร้อมระบบหมุนเปลี่ยนวันที่เร็ว Quick Date adjustment มีมาตรวัดวงแสดงผลจับเวลา 30 นาที ที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา พร้อมเข็มแสดงผลจับเวลาวินาทีที่แกนกลาง เม็ดมะยมสำหรับปรับตั้งเวลาและวันที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา พร้อมปุ่มจับเวลาและรีเซ็ตเข็มที่ตำแหน่ง 2 และ 4 นาฬิกาตามลำดับ บรรจุในตัวเรือนสแตนเลส สตีล ขนาด 40 มิลลิเมตร พร้อมฝาหลังนาฬิกาขันเกลียวป้องกันน้ำ
[ภาพตัวเรือนนาฬิกา Seiko Chronograph 6139-6002]
Photo: watchinprogress.com
Chronograph 6139 จาก Seiko เจเนอเรชั่นแรก รหัสท้าย 60xx มาพร้อมหน้าปัดหลายรูปแบบ ถึง 9 ประเภทด้วยกัน โดยในเจเนอเรชั่นต่อมา 6139 – 70xx หรือที่เรียกกันในหมู่นักสะสมว่า Baby Jumbo นั้น ได้ถูกออกแบบหน้าปัดใหม่ โดยนำวงแหวน tachymeter มาไว้ด้านในตัวเรือน มีหน้าปัดแบบเรียบในรหัส 7030 และแบบสองชั้น ในรหัส 7070
[ภาพโบรชัวร์นาฬิกา Seiko 6139 ในหลากหลายสี รูปแบบ]
Photo: @Isthmus - forums.watchuseek.com
[ภาพอะไหล่หน้าปัดนาฬิกาโครโนกราฟวินเทจของ Seiko ของแท้ดั้งเดิม (New Old Stock) ที่มีจัดจำหน่ายในร้านนาฬิกาเหรียญทอง]
Photo: rianthongbangkok.com
[ภาพอะไหล่หน้าปัดนาฬิกา Seiko รุ่น 6139-7030T Genuine Parts]
Photo: rianthongbangkok.com
นอกจากไซโก้เองจะมีเครื่องรหัส 6139 ซึ่งจับเวลาได้ระยะเวลา 30 นาทีแล้ว ยังมีเครื่องตระกูลเดียวกันในรหัส 6138 ซึ่งสามารถบันทึกเวลาโครโนกราฟได้ 12 ชั่วโมง โดยมีพื้นฐานการออกแบบร่วมกัน และเพิ่มวงมาตรจับเวลาแบบ 10 ชั่วโมงไว้ ณ ตำแหน่ง 12 นาฬิกา ทั้งสองกลไกไม่มีการแสดงผลวินาทีปกติ
[ภาพอะไหล่หน้าปัดนาฬิกา Seiko รุ่น 6138-8060T Genuine Parts]
Photo: rianthongbangkok.com
[ภาพอะไหล่หน้าปัดนาฬิกาด้านวงจับเวลา30 นาที ณ ตำแหน่ง 6 นาฬิกา Seiko รุ่น 6138-8060T Genuine Parts ถ่ายผ่านกล้องขยาย Eschenbach]
Photo: rianthongbangkok.com
ภาพ Close-up shoot ถ่ายผ่านกล้องขยาย Eschenbach อุปกรณ์มาตรฐานสำหรับช่างซ่อมนาฬิกา สินค้าหน้าปัดนาฬิกา นาฬิกาเหรียญทอง เยาวราช มีจัดจำหน่ายเป็นบางรายการ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ 02-222-6391
19 พฤษภาคม 2561
ผู้ชม 12271 ครั้ง